supanida010
supanida010 - งานวิจัย1

Home
Guestbook
ประวัติส่วนตัว
วิทยานิพนธ์1
งานวิจัย1
งานวิจัย 2
งานวิจัย 3
งานวิจัย 4
งานวิจัย 5
สื่อคณิตศาสตร์
คำถามคาใจ




คณิตศาสตร์


 

 

งานวิจัยเรื่อง
การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบเรียนเป็นคู่ของนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย : นายบุญเลี้ยง ทุมทอง
หน่วยงานที่ทำวิจัย :
ปีที่ทำวิจัย : พ.ศ. 2544
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.        เพื่อพัฒนาชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบเรียนเป็นคู่ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.        เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลในการทดลองใช้ชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบเรียนเป็นคู่ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.        เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบใช้ชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบเรียนเป็นคู่กับการสอนตามคู่มือครู
4.        เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบใช้ชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบเรียนเป็นคู่กับการสอนตามคู่มือครู
5.        เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบใช้ชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบเรียนเป็นคู่กับการสอนตามคู่มือครู
 
วิธีดำเนินการวิจัย
                ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับดังนี้
1.        ประชากร
2.        กลุ่มตัวอย่าง
3.        แบบแผนการในการทดลอง
4.        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5.        การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
6.        การเก็บรวบรวมข้อมูล
7.        การกระทำกับข้อมูล
8.        สถิติที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร
                ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดสุรินทร์ที่เรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ค 012 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 จากโรงเรียนทั้งหมด 85 โรง
กลุ่มตัวอย่าง
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1.                    กลุ่มทดลองคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนลานทรายพิทยาคม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ที่เรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ค 012ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 จำนวน 60 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย
2.                    กลุ่มควบคุมคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ที่เรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ค 012ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 จำนวน 60 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย
แบบแผนในการทดลอง
                ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองและพัฒนา ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบแผนในการวิจัยแบบ Randomized Control Group Pretest Design
               
                RE                           T1                            X                             T2
                RC                           T1                        ~X                               T2
เมื่อกำหนดสัญลักษณ์คือ
                E              แทน กลุ่มทดลอง
                C             แทน กลุ่มควบคุม
                X             แทน การจัดกระทำหรือการให้ตัวแปรทดลอง
            ~X              แทน ไม่มีการจัดกระทำหรือการให้ตัวแปรทดลอง
                T1            แทน การสอบก่อนการทดลอง
                T2            แทน การสอบหลังการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย
1.        แผนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ ค 012 ผู้วิจัยได้เขียนเป็นรายคาบ ประกอบด้วย
            แผนการสอนที่ใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่ จำนวน 22 คาบ
            แผนการสอนตามคู่มือครู จำนวน 22 คาบ
2.        ชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ค 012ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 ชุดดังต่อไปนี้
ชุดที่ 1 เรื่องระบบสมการที่ประกอบด้วยสมการเชิงเส้นและสมการดีกรีสอง ใช้เวลาในการเรียน 6 คาบ
ชุดที่ 2 เรื่องระบบสมการที่ประกอบด้วยสมการดีกรีสอง ใช้เวลาในการเรียน 5 คาบ
ชุกที่ 3 เรื่องความน่าจะเป็น ใช้เวลาในการเรียน 1 คาบ
ชุดที่ 4 เรื่องการทดลองสุ่ม ใช้เวลาในการเรียน 1 คาบ
ชุดที่ 5 เรื่องเหตุการณ์ ใช้เวลาในการเรียน 4 คาบ
ชุดที่ 6 เรื่องความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ใช้เวลาในการเรียน 4 คาบ
3.        แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยครอบคลุมเนื้อหาทั้งสองบทเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 50 ข้อ มีระดับความยากง่ายระหว่าง 0.3 0.85 ค่าอำนาจจำแนก 0.25 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.844
4.        แบบสอบวัดความรับผิดชอบในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นลักษณะแบบสอบถามแบบ Likert Scale ชนิด 5 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ
5.        แบบสอบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เป็นแบบสอบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมุ่งวัดเจตคติหรือความรู้สึก ความคิดที่โน้มเอียงไปในทางชอบหรือไม่ชอบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นแบบสอบถามแบบ Likert Scale ชนิด 5 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ
การสร้างเครื่องมือในกาวิจัย
                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีหลายอย่าง และแต่ละอย่างมีวิธีการสร้างที่แตกต่างกัน โดยเรียงลำดับการสร้างดังนี้
1.        แผนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ค 012 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างดังนี้
            ศึกษาคำอธิบายรายวิชา เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ประจำบทเรื่องระบบสมการ และความน่าจะเป็น
            ศึกษาเอกสาร เทคนิคและแนวการเขียนแผนจากแผนการสอนเดิมของศูนย์คณิตศาสตร์สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ( โรงเรียนรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์) รวมทั้งแผนการสอนที่มีผู้เขียนท่านอื่นได้เขียนไว้
            สร้างแผนการสอน โดยแบ่งเป็น 2 แผนคือ
            แผนการสอนที่ใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนของวิธีสอนแบบเรียนเป็นคู่ โดยจะมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป/อภิปรายผล
ขั้นที่ 4 ขั้นทดสอบย่อย (หลังจากใช้ชุดการเรียนแต่ละชุดจบ)
ขั้นที่ 5 บันทึกหลังสอน
แผนการสอนตามคู่มือครู ผู้วิจัยสร้างแผนการสอนที่มีกิจกรรมการเรียน การสอนตามคู่มือครูคณิตศาสตร์ ค 012 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการมาสร้าง โดยมีขั้นตอนการสอนดังนี้
ขั้นที่ 1 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 2 ขั้นนำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสอน
ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป/อภิปรายผล
ขั้นที่ 5 ขั้นฝึกหัด
ขั้นที่ 6 บันทึกหลังสอน
            ขอความกรุณาจากผู้เชียวชาญด้านการสอนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย อาจารย์สุภาภรณ์ สังข์น้อย ศึกษานิเทศก์บัญญัติ ทองคำ และศึกษานิเทศก์คำนูณ สายแสงจันทร์ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา ความถูกต้องและเหมาะสมของกิจกรรมในแผนการสอน
 
2.         ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามลำดับขั้นดังนี้
ขั้นที่ 1 การเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุดการสอน รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือเรียน ค 012 คู่มือคณิตศาสตร์ ค 012 เป็นต้น
ขั้นที่ 2 สร้างชุดการสอน โดยการกำหนดรูปแบบของชุดการสอน การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม กำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม และนำชุดการเรียนที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย อาจารย์สุภาภรณ์ สังข์น้อย ศึกษานิเทศก์บัญญัติ ทองคำ และศึกษานิเทศก์คำนูณ สายแสงจันทร์ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา ความถูกต้องและเหมาะสมของกิจกรรม
ขั้นที่ 3 หาประสิทธิภาพของชุดการสอน โดยใช้สูตร E1/E2 และหาค่าดัชนีประสิทธิผล ของ Goodman , Fletcher และ Schneider
3.        แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีขั้นตอนการสร้างดังนี้
            ศึกษาวิธีสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิธีคณิตศาสตร์และศึกษาวิธีการสร้างเครื่องมือที่เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
            ศึกษาเนื้อหา และจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจากหนังสือคู่มือวิชาคณิตศาสตร์ ค 012
            สร้างตารางวิเคราะห์จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมตามเนื้อหา
            สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ชนิดเลือกตอบ จำนวน 50 ข้อ และขอความกรุณาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. เชิญ สามารถ อาจารย์สุภาภรณ์ สังข์น้อย ศึกษานิเทศก์บัญญัติ ทองคำ และศึกษานิเทศก์คำนูณ สายแสงจันทร์ให้ช่วยพิจารณาความตรงต่อเนื้อหา ความเหมาะสมของคำถามแล้วนำไปปรับปรุง
            นำแบบทดสอบที่ได้ไปทดลองกับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ชุดที่ 1 ได้ค่าความยาก 0.42 ค่าอำนาจจำแนก 0.84 ความเชื่อมั่น 0.820 และชุดที่ 2 ได้ค่าความยาก 0.49 ค่าอำนาจจำแนก 0.84 และความเชื่อมั่น 0.914
4.        แบบสอบวัดความรับผิดชอบในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีขั้นตอนการสร้างดังนี้
            กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบสอบวัด เพื่อสร้างแบบสอบวัดความรับผิดชอบในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
            ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จิตวิทยาในองค์การ และจิตวิทยาการศึกษา
            สร้างข้อคำถามแสดงแนวที่นักเรียนปฏิบัติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ข้อคำถามจำนวน 30 ข้อ และขอความกรุณาให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านประกอบด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดา พชรพรรณพงษ์ ศึกษานิเทศก์บัญญัติ ทองคำ และศึกษานิเทศก์คำนูณ สายแสงจันทร์ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา
5.        แบบสอบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์มีขั้นตอนการสร้างดังนี้
            กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบสอบวัด เพื่อสร้างแบบสอบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
            ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวของ จิตวิทยาในองค์การ จิตวิทยาการศึกษา
            สร้างข้อคำถามแสดงความรู้สึกว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับข้อคำถามจำนวน 30 ข้อ และข้อความกรุณาให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 ท่านประกอบด้วย ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. เชิญ สามารถ อาจารย์สุภาภรณ์ สังข์น้อย ศึกษานิเทศก์บัญญัติ ทองคำ และศึกษานิเทศก์คำนูณ สายแสงจันทร์ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา
การเก็บรวบรวมข้อมูล
                ผู้วิจัยทำหนังสือประสานงานกับผู้บริหาร โรงเรียนลานทรายพิทยาคม และโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ เพื่อขอทดลองกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อขอความร่วมมือ และประสานงานกับหัวหน้าหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งกลุ่มทดลองผู้วิจัยได้ทำการสอนเอง และในกลุ่มควบคุมได้ขอความร่วมมือในการสอนจากอาจารย์ศักดิ์ดา ศรีผาวงศ์ อาจารย์ 1ระดับ 4 หมวดวิชาคณิตศาสตร์โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่มได้ดำเนินการดังนี้
1.     ทำการทดลองก่อนเรียนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2.     ทำการทดลอง ซึ่งใช้เนื้อหาเท่ากัน ระยะเวลาเท่ากัน โดยกลุ่มทดลองดังนี้
            กลุ่มทดลอง เรียนโดยใช้แบบการเรียนเป็นคู่
            กลุ่มควบคุม สอนตามคู่มือ
3.     เมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบหลังเรียนกับนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นชุดเดียวกับชุดที่ทดสอบก่อนเรียน
4.     ทดสอบหลังเรียนกับนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้แบบสอบวัดความรับผิดชอบในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบสอบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
5.     ตรวจให้คะแนนแล้วนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน
การจัดกระทำกับข้อมูล
                เมื่อดำเนินการทดลองเสร็จสิ้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาจัดกระทำดังต่อไปนี้
1.     หาประสิทธิภาพของชุดการสอน โดยใช้สูตร E1/E2
2.     หาค่าดัชนีประสิทธิผล ของ Goodman , Fletcher และ Schneider
3.     เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สูตร t – test แบบ Difference Scores
4.     เปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สูตร t – test แบบ Independent
5.     เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม   โดยใช้สูตร t – test แบบ Independent
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.     สถิติพื้นฐาน   
            ค่าเฉลี่ย ( Mean )
 =     
 เทคโนโลยีที่ใช้ในงานวิจัย
                คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน
 
 
Today, there have been 2 visitors (7 hits) on this page!
math phanakhon
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free