supanida010
supanida010 - งานวิจัย 3

Home
Guestbook
ประวัติส่วนตัว
วิทยานิพนธ์1
งานวิจัย1
งานวิจัย 2
งานวิจัย 3
งานวิจัย 4
งานวิจัย 5
สื่อคณิตศาสตร์
คำถามคาใจ




คณิตศาสตร์


 

รายงานการวิจัย
เรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน
โดยใช้แบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โดยเน้นกระบวนแก้ปัญหาที่หลากหลายการให้เหตุผล สื่อความหมาย
ผู้วิจัย : นางวรนุชบุปผา
หน่วยงานที่ทำวิจัย : โรงเรียนวัดท่าช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
ปีที่ทำวิจัย : พ.ศ. 2548
 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องการบวก ลบคูณ หารเศษส่วน โดยใช้แบบฝึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยเน้นกระบวนแก้ปัญหาที่หลากหลาย การให้เหตุผล สื่อความหมาย
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. วิธีดำเนินการฝึก
4. สถิติที่ใช้ในการสิเคราะห์ข้อมูล

การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนวัดท่าช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 91 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ที่ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนวัดท่าช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 29 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่
1. แบบฝึกความสามารถในการวิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน จำนวน 3 ชุดโดยเป็นแบบอัตนัยแบ่งตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมประกอบด้วย คำชี้แจง หัวข้อเรื่อง ซึ่งสร้างโดยเน้นทักษะกระบวนการ ได้แก่
ชุดที่ 1 โจทย์ปัญหาการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน จำนวน 8 ข้อ ใช้เวลาใน
การฝึก 2 วัน วันละ 4 ข้อ ใช้ฝึกวันละ 60 นาที
ชุดที่ 2 โจทย์ปัญหาการคูณ การหารเศษส่วน จำนวน 8 ข้อ ใช้เวลาในการฝึก 2 วัน วันละ
4 ข้อ ใช้ฝึกวันละ 60 นาที
ชุดที่ 3 โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารเศษส่วนระคน จำนวน 6 ข้อ ใช้เวลา
ในการฝึก 2 วัน วันละ 3 ข้อ ใช้ฝึกวันละ 60 นาที
2. แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่องการบวก การลบ การคูณ การหาร
เศษส่วนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 3 ฉบับ คือ
ฉบับที่ 1 เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันจำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 2 เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณ การหารเศษส่วน จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 3 เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารเศษส่วนระคน จำนวน 10 ข้อ

วิธีดำเนินการฝึก
1. นำแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฉบับที่ 1 เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก
การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน ไปสอบกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / 3
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนวัดท่าช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 29 คน บันทึกคะแนนไว้เป็นผลการทดสอบก่อนใช้แบบฝึก ( Pretest )
2. นำแบบฝึกชุดที่ 1 เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน ให้นัก
เรียนกลุ่มตัวอย่างฝึกเป็นเวลา 2 วัน วันละ 1 ชั่วโมง ผลการฝึกนักเรียนสามารถทำตามขั้นตอนได้ถูกต้อง นักเรียนบางคนยังคำนวณผิดพลาด ผู้วิจัยได้อธิบายให้นักเรียนเข้าใจ แล้วเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นให้นักเรียนฝึกต่อไปจนครบ 6 ข้อ
3. นำคะแนนที่ได้จากการทำชุดการฝึกมาอภิปรายถึงปัญหาการฝึก และซักถามความเข้าใจ
ในเนื้อหา
4. นำแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นฉบับเดียวกับที่นัก
เรียนสอบก่อนฝึกมาให้นักเรียนทำ เป็นการทดสอบหลังการใช้แบบฝึก( Post Test )แล้วบันทึกผลที่ได้ไว้สำหรับวิเคราะห์ทางสถิติ และตรวจสอบการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน
5. นำแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ให้นักเรียนทำการทดสอบก่อนฝึกด้วยแบบฝึกชุดที่ 2 และชุดที่ 3 โดยการฝึกใช้เวลาฝึกชุดละ 2 วัน วันละ 1 ชั่วโมง เมื่อทำการฝึกเสร็จสิ้นลงทุกครั้ง นำแบบทดสอบฉบับเดียวกับที่ให้นักเรียนทดสอบก่อนทำการฝึกแต่ละชุดมาให้นักเรียนทำอีกครั้ง โดยดำเนินการเช่นเดียวกับ ข้อ 1 – 4 จากนั้นนำผลคะแนนทั้ง 3 ชุดไปวิเคราะห์ทางสถิติ
การเก็บรวบรวมข้อมูลและการหาประสิทธิภาพของแบบฝึก
1. ในการดำเนินการฝึกผู้วิจัยทำหน้าที่ดำเนินการฝึกด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 12 กันยายน
2548 ถึงวันที่ 19 กันยายน 2548 โดยนำแบบฝึกชุดที่ 1 เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน ให้นักเรียนฝึกเป็นเวลา 2 วัน วันละ 1 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2548 ถึงวันที่ 13 กันยายน 2548 ผลการฝึกนักเรียนสามารถทำตามขั้นตอนได้ถูกต้องทุกข้อ ยกเว้นการคำนวณยังมีผิดพลาด
2. ชุดแบบฝึกชุดที่ 2 และชุดที่ 3 ได้ทำการฝึกกลุ่มตัวอย่างในระหว่างวันที่ 14 กันยายน
2548 ถึงวันที่ 19 กันยายน 2548 เป็นเวลา 4 วัน วันละ 1 ชั่วโมง นักเรียนบางคนยังคิดคำนวณผิดพลาดอยู่บางต้องทำการฝึกใหม่เป็นบางคน ในการทำแบบฝึกแต่ละครั้งได้ทดสอบก่อนฝึกและหลังฝึกทุกครั้ง เพื่อนำผลการสอบมาเปรียบเทียบดูการพัฒนาการเรียนรู้
3. เมื่อการฝึกเสร็จสิ้นลง นำแบบทดสอบและแบบฝึกที่นักเรียนทำมาตรวจให้คะแนน เพื่อ
นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกมาอภิปรายถึงปัญหาในการฝึก และซักถามความเข้าใจในเนื้อหา จากนั้นนำผลคะแนนไปวิเคราะห์ทางสถิติ และวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึก
เทคโนโลยีที่ใช้ในงานวิจัย
ชุดแบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ชุด โดยประกอบด้วย
ชุดที่ 1. โจทย์ปัญหาเกี่ยวการบวก ลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
ชุดที่ 2. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการคูณ หารเศษส่วน
ชุดที่ 3. โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนระคน
Today, there have been 1 visitors (3 hits) on this page!
math phanakhon
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free